09 August 2022
ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงช่วงวัย ยิ่งอายุมากขึ้นระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมถอยลง มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหาสุขภาพเหล่านี้
4 ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวังในผู้สูงอายุ
ความดันสูง
ภาวะความดันสูง (Hypertension) สภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดสูงกว่าปกติ (ความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท) ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะมีความดันสูงมากกว่าวัยอื่นๆ ภาวะความดันสูงเป็นสาเหตุของโรครุนแรงต่างๆ ทั้งโรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก หลอดเลือดแดงใหญ่โป่ง ภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะหัวใจวาย
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคความดันสูงจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ในบางรายอาจมีแค่อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดมึนบริเวณท้ายทอยเฉพาะช่วงหลังตื่นนอนเท่านั้น ทั้งนี้กว่า 90% ของผู้ป่วยโรคความดันสูงมักจะไม่ทราบสาเหตุของโรคและมีเพียงแค่ 20% เท่านั้นที่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หรือเส้นเลือดแดงบางเส้นทำงานผิดปกติ การรักษาภาวะความดันสูงทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้กลับมาอยู่ในค่าปกติได้
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ภาวะคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มักพบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปและพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่ระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกายอย่างกรรมพันธุ์ หรือโรคเรื้อรัง (โรคตับ โรคของต่อมไร้ท่อ ภาวะความดันโลหิตสูง) และจากปัจจัยภายนอก ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงและเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ทั้งโรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน
ท้องอืดย่อยยาก
อีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทั้งหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้น้อยลง ร่างกายหลั่งเอมไซน์ที่ใช้สำหรับย่อยอาหารได้น้อยกว่าที่เคย จนเกิดปัญหาท้องอืดย่อยยากตามมา ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดแน่นท้อง จุกเสียด รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ความอยากทานอาหารลดน้อยลง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร จัดการปัญหาท้องอืดย่อยยากในผู้สูงอายุด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัดและไขมันสูง เลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใย (Fiber) ทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ รวมถึงพยายามหากิจกรรมระหว่างวันทำ ขยับร่างกายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
มวลกล้ามเนื้อลดลง
เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ ที่ร่างกายเริ่มอ่อนแอลงจากปัจจัยต่างๆ ทั้งการลดลงของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกาย ภาวะเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทที่สั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงการได้รับสารอาหารในกลุ่มโปรตีน (Protein) ที่ไม่เพียงพอเพราะผู้สูงอายุประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง (Sarcopenia) งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าช่วงหลังอายุ 30 ปี ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้มวลกล้ามเนื้อของร่างกายลดลง 3-5% ในทุกๆ 10 ปี และเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 75 ปีขึ้นไปจะมีอัตราสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ 2.5-4% ต่อปี เพื่อชะลอภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและช่วยเพิ่มเส้นใยของกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับสารอาหารในกลุ่มโปรตีนที่มีคุณภาพดี ในปริมาณที่เพียงพอ นอกไปจากนี้ควรได้รับแร่ธาตุและวิตามินจำเป็น ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินอี ตลอดไปจนถึงการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้แอคทีฟ (Active) มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำเพิ่มระหว่างวัน เพียงเท่านี้แขน ขาของเราก็จะกลับมาแข็งแรง ใช้ชีวิต เดินเหิน จะลุกจะนั่งก็สบาย ไร้ปัญหากวนใจ
การดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักให้แข็งแรงนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้สมวัย เราจึงต้องดูแลสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกด้วยการเลือกเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ลดโอกาสการสะสมคอเลสเตอรอล ขอแนะนำ ไวต้าชัวร์ เครื่องดื่มนมแพะเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ เพราะไวต้าชัวร์มี 2C กรดไขมันดีต่อร่างกาย (คาพริลิกและคาพริก) ที่ดูดซึมและย่อยง่าย ลดโอกาสการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เป็นต้นตอการเกิดโรคความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด