ปรับโภชนาการ อาหารย่อยง่ายสำหรับผู้สูงอายุ หมดปัญหาท้องอืด ย่อยยาก

30 November 2022

        Happy,senior,adult,couple,eating,healthy,salad,together.,lovely,grandmother

           ปัจจัยด้านโภชนาการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งของร่างกายมากกว่าวัยอื่นๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของระบบการย่อยและดูดซึมอาหาร รวมถึงประสาทการรับกลิ่นและรสที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนมากประสบปัญหาท้องอืด อาหารไม่ย่อย เกิดอาการเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลง และเมื่อนานวันเข้าก็ทำให้เกิดปัญหาทางโภชนาการในที่สุด

โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

           เพราะสภาวะความเสื่อมถอยของร่างกายของผู้สูงอายุ ทำให้ปริมาณความต้องการทางโภชนาการของผู้สูงอายุจะน้อยลงกว่าช่วงวัยอื่นๆ เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 51-75 ปี ความต้องการพลังงานจะลดลงร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดและเมื่ออายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป ความต้องการต้องพลังงานจะลดลงร้อย 10-15 ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งพลังงานโดยเฉลี่ยที่ผู้สูงอายุควรได้รับอยู่ในช่วงระหว่าง 1,400-1,800 กิโลแคลอรี จากการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม

      – โปรตีน ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 0.88-1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อคงความแข็งแรงและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่อง โดยควรเลือกจากแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ชนิดที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย มีปริมาณไขมันแฝงต่ำ เช่น นมแพะ นมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ เต้าหู้ เป็นต้น

      – คาร์โบไฮเดรต ผู้สูงอายุควรได้รับในปริมาณร้อยละ 55 ของพลังงานทั้งหมด เน้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย ถั่วเหลือง เป็นต้น

      – ไขมัน ผู้สูงอายุควรได้รับไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด โดยควรเน้นเป็นกลุ่มกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เพื่อป้องกันภาวะไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

      – วิตามินและเกลือแร่ ผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี ที่มีช่วยรักษาความแข็งแรงให้กับกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อมและโรคกระดูกพรุน ตลอดไปจนถึงวิตามินอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ ทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม สังกะสี และเส้นใยอาหาร

Two,old,women,preparing,healthy,food

เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้ดี รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ควรจัดเตรียมอาหารร่วมกับการใช้หลักการเหล่านี้

      – เลือกอาหารที่มีในท้องถิ่น และเป็นอาหารตามฤดูกาล เพื่อให้ได้อาหารที่สดใหม่ ไร้สารเคมี

      – เน้นอาหารที่เคี้ยวและกลืนง่าย ใช้วิธีการฉีก ป่น หรือหั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้มโจ๊ก เนื้อไก่ฉีก ผักต้มและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

      – เลือกอาหารที่เป็นของเหลว หรือมีลักษณะกึ่งเหลว เช่น นมไขมันต่ำ นมแพะ นมจากธัญพืช โจ๊ก หรือซุป เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุกลืนได้ง่าย ทั้งยังย่อยและดูดซึมได้ดีกว่า

      – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด อาหารประเภททอด อาหารหมักดอง รวมไปจนถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพื่อป้องกันภาวะโรคร้ายอื่นๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ฯลฯ

 

ไวต้าชัวร์ เครื่องดื่มนมแพะเพื่อสุขภาพ ตัวช่วยดูแลโภชนาการที่ย่อยและดูดซึมง่ายยิ่งกว่า สำหรับผู้สูงอายุ

Picture1 (1)

      – เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ด้วยโปรตีนจากนมแพะที่ย่อยและดูดซึมง่ายกว่านมวัวถึง 2 เท่า

      – มี 2C กรดไขมันดี คาพริกและคาพริลิก ที่ย่อยและดูดซึมเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังได้ง่าย ลดโอกาสการสะสมของคอเลสเตอรอลและไขมันในหลอดเลือด

      – มีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูง และแร่ธาตุอื่นๆ รวมกว่า 10 ชนิด ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก ให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ

 

ไวต้าชัวร์ 728x90

 


แชร์บทความนี้